MammyMay
เก็บน้ำนมแม่ได้นานเท่าไร?
เป็นคำถามที่แม่ถามเข้ามากันเยอะเลยค่ะ บางบ้านปั้มได้เยอะอยากเก็บไว้นานๆเพื่อทำสต็อค แต่ดันเก็บผิดวิธี น้ำนมก็เสีย และที่สำคัญตู้เย็นแต่ละบ้านไม่เหมือนกันอีก แบบ2ประตูกับแบบ1ประตูก็เก็บได้ต่างกันนะจ๊ะ
โพสต์นี้เลยมาสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ แบบInfographicเลยค่ะ ว่าการเก็บแต่ละแบบสามารถรักษาน้ำนมได้นานแค่ไหน และวิธีทดสอบที่ดีที่สุดคือ ชิมก่อนให้ลูกทานค่ะ
มาพูดถึง ภาชนะการเก็บน้ำนมก่อน สามารถเป็นได้ทั้งถุงเก็บน้ำนมและขวดนม แบ่งตามปริมาณที่ลูกทานต่อมื้อ เพราะเวลาละลายน้ำนม จะได้ไม่เหลือทิ้ง หรือแอบเก็บไว้มื้อต่อไป...อย่าหาทำ!
ที่สำคัญใส่วันเดือนปีเวลาของรอบปั้มและเรียงเก็บใส่ตู้เย็นให้เรียบร้อย แบบ FIFO (First In First Out) คือ ถุงไหนเข้ามาก่อน ก็เอาถุงนั้นมาละลายก่อน ถุงไหนเพิ่งแช่ ก็เก็บสต็อค โดยสังเกตจากวันเดือนปีที่บอกให้เขียนไว้นั่นแหละค่ะ
สำหรับน้ำนมสต็อคที่ถูกละลายแล้ว ไม่ควรนำกลับไปแช่อีก เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบต่างๆ ทำให้คุณภาพเสียไป
คราวนี้เรามาพูดถึงคำถามที่ถามกันมาเยอะเกี่ยวกับการเก็บรักษาน้ำนมแม่กันดีกว่าค่ะ
1. วางไว้ในบ้าน อุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส : 1 ชั่วโมง
2. ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิห้อง 5-10 องศาเซลเซียส : 3 วัน
3. ตู้เย็น 1 ประตู ช่องฟรีส อุณหภูมิห้อง -15 องศาเซลเซียส : 2 สัปดาห์
4. ตู้เย็น 2 ประตู ช่องฟรีส อุณหภูมิห้อง -18 องศาเซลเซียส : 3-6 เดือน
5. ตู้แช่แข็ง อุณหภูมิห้อง -20 องศาเซลเซียส : 6-12 เดือน

ทั้งนี้ทุกครั้งก่อนจะป้อนนมน้อง แม่เมจะแอบชิมก่อนทุกครั้งค่ะ ยิ่งวางในอุณหภูมิห้องด้วยต้องระวังน้ำนมเสียเร็วด้วยอากาศSo hotบ้านเราเนอะ บางบ้านมีแอร์ก็ดีระดับนึง บ้านไหนพัดลมนี่ต้องเช็คน้ำนมตลอดนะคะว่ายังทานได้มั้ย
หวังว่าโพสต์นี้จะเป็นประโยชน์กับแม่ๆนะคะ มีประโยชน์ก็ฝากแชร์ด้วยน๊า ขอบคุณค่ะ